Category Archives: General

ปฏิจจสมุปบาท และเส้นทางสู่ นิพพาน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บัวบานได้ไปศึกษาอบรมธรรมมะจากศูนย์อบรมแห่งหนึ่ง โดยบัวบานตั้งใจจะไปศึกษา “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งถือว่าเป็นแก่นของพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้.

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรคือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=1

ศูนย์อบรมแห่งนั้น ตั้งอยู่บนเนินเขา ห้อมล้อมด้วยป่าไม้ บรรยากาศสดชื่นและร่มเย็นมาก. ผู้เข้าร่วมและผู้ปฏิบัติที่พำนักอยู่ที่ศูนย์อบรม ก็ล้วนแต่เป็นกัลยาณมิตร อัธยาศัยดี พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้ม ช่างเป็นสังคมรมณีย์ที่หาได้ยากยิ่งในโลกใบนี้. บัวบานได้ที่พักเป็นบ้านเดี่ยวขนาดราวๆ 25 ตร.ม. มีห้องน้ำในตัว มีพัดลม มีแอร์ มีเตียง (แต่ไม่มีฟูก). มีความพอดีพอเพียงกับการปฏิบัติธรรม. ห้องบัวบานอยู่ตรงส่วนของเนินเขา บรรยากาศดี, พอไปถึงห้องพัก ก็ได้พบกับ งู ตัวสีแดง นอนนิ่งอยู่ตรงทางเดินขึ้นประตูห้อง (-_- ) บัวบานก็เลยจะไปหยิบโทรศัพท์มาถ่ายรูป พอเดินกลับมา… เจ้างูก็หายไปแล้ว – -“. หลอนเลยครับ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เวลาเดินออกจากห้อง ก็จะส่องไฟไปตลอดทาง.

เนื้อหาในการอบรมนั้น หักมุมครับ. เป็นเนื้อหาผสมผสานระหว่างข้อมูลที่อยู่ในพระไตรปิฎก และข้อมูลที่ถูกบัญญัติขึ้นมาเองโดยบุคคลหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้นำของศูนย์อบรมนี้. บัวบานได้รับฟังเนื้อหาและพิจารณาโดยถี่ถ้วน สุดท้ายก็ไม่อาจทำใจเชื่อเนื้อหานั้นได้. ณ คืนที่สามในการอบรม, บัวบานก็ว้าวุ่นจนถึงขั้นจะนอนไม่หลับเอา เพราะเนื้อหาจากการอบรมนั้นทำให้วุ่นวายใจเป็นอันมาก. บัวบานก็เลยขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยและครูบาอาจารย์ มาช่วยดลบันดาลให้บัวบาน ได้เข้าใจว่า ในคืนแห่งการตรัสรู้นั้น เจ้าชายสิทธัตถะคิดอะไรอยู่. จากนั้น บัวบานก็หลับไปโดยไว.

ตื่นมาตีสาม ด้วยความสดใส (T-T ซึ่งควรจะตื่นตีสี่ครึ่ง เพื่อไปทำวัตร) บัวบานก็เลยเล่นเพ่งสมาธิ (ซึ่งไม่เคยทำมาก่อนอ่านะ), ปรากฏว่ามันได้ผลประหลาดๆ ซึ่งจะขอข้ามตรงนี้ไป เพราะบัวบานเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ไว้ถ้ารู้แล้วจะมาอัพเดต. จากนั้น บัวบานก็ได้คิดใคร่ครวญถึงปฏิจจสมุปบาทอีกแล้ว โดยจินตนาการว่า ถ้าพระพุทธเจ้าเป็นไก่ไข่ที่อยู่ในฟาร์มแบบปิดของ CP, พระพุทธเจ้าจะอธิบายที่มาแห่งทุกข์ทั้งปวงของเหล่าไก่อย่างไร? นอกจากนี้ คำอธิบายที่ได้มา ต้องสามารถประยุกต์ใช้กับภพอื่นๆ ทั้งนรก เปรต เทวดา พรหม ได้ด้วยนะ ไม่งั้นถือว่าตอบถูกครึ่งเดียว.

ทันใดนั้น ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทก็เกิดขึ้น!!!!

ปัญหาที่ทำให้บัวบานไม่เข้าใจปฏิจจสมุปปบาท ก็เพราะว่า บัวบานคิดไปเองว่าเจ้าชายสิทธัตถะเริ่มทำความเข้าใจความทุกข์โดยเริ่มต้นจากอวิชชา ซึ่งมันไม่เมคเซ้นส์สำหรับบัวบาน. เพราะว่าคนปกติทั่วไป เวลาจะวิเคราะห์ปัญหาใดๆ จะต้องเริ่มต้นจากตัวปัญหา แล้วคิดย้อนกลับไปหาสาเหตุของปัญหา. มันไม่มีทางที่จะเอาเริ่มวิเคราะห์โดยที่รู้ต้นตอของปัญหาอยู่แล้ว. เพราะถ้ารู้ต้นตอปัญหาอยู่แล้ว จะวิเคราะห์ปัญหาไปทำล่ะ (วะ)?

นั่นหมายความว่า พระพุทธเจ้าน่าจะเริ่มต้นวิเคราะห์หาที่มาของความทุกข์แบบหนึ่งก่อน ไม่ใช่เริ่มต้นที่อวิชชา. ซึ่งเหตุแห่งทุกข์แบบนึงที่ถูกระบุไว้ในพระไตรปิฎก ประมาณว่า

เจ้าชายสิทธัตถะได้เคยเสด็จประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง ๔ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิต

https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/72/iid/460

แปลว่า เจ้าชายสิทธัตถะน่าจะเริ่มต้นวิเคราะห์จากแก่และตาย ซึ่งจะทำให้เห็นได้ว่าสาเหตุของการแก่และตายนี้คือ การเกิด. จากนั้น จึงค่อยๆ วิเคราะห์ย้อนกลับไปหาเหตุของการเกิด และเหตุอื่นๆ ต่อไปจนครบ.

ทำให้บัวบานเข้าใจในทันทีว่า เพราะบัวบานเอาแต่มองปฏิจจสมุปบาทแบบอนุโลมนั่นเอง จึงทำให้ไม่เข้าใจว่าเจ้าชายสิทธัตถะคิดอะไรในคืนนั้น. แค่เปลี่ยนมุมมองมาเป็นแบบปฏิโลมเท่านั้นแหละ วงจรปฏิจจสมุปบาทก็จะเมคเซ้นส์ในทันที.

ปฏิจจสมุปบาท แบบปฏิโลม จะเรียงลำดับจากผลไปหาเหตุ

มีทุกข์ เพราะมี ชราและมรณะ
มีชราและมรณะ เพราะมี ชาติ
มีชาติ เพราะมี ภพ
มีภพ เพราะมี อุปปาทาน
มีอุปปาทาน เพราะมี ตัณหา
มีตัณหา เพราะมี เวทนา
มีเวทนา เพราะมี ผัสสะ
มีผัสสะ เพราะมี สฬายตนะ
มีสฬายตนะ เพราะมี รูปนาม
มีรูปนาม เพราะมี วิญญาณ
มีวิญญาณ เพราะมี สังขาร
มีสังขาร เพราะมี อวิชชา

บัวบานเขียนเอง โดยเอาเนื้อหาจากพระไตรปิฎก

เมื่อปัญญาเกิด ก็เลยต้องจดบันทึก เพราะกลัวลืม บัวบานเลือกใช้ UML Activity Diagram มาช่วยอธิบาย วงจรปฏิจจสมุปบาท จึงได้รูปนี้ขึ้นมาฮะ.

แผนภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท ที่บัวบานวาดเอง

ต้องขอบคุณทุกสิ่งอย่าง รวมถึงศูนย์อบรมด้วยฮะ ที่กระตุ้นให้บัวบานได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่จนสามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้อย่างเห็นแจ้ง. ซึ่งทำให้เข้าใจอะไรหลายๆ อย่างตามมาด้วยว่า

  • การไปนิพพานนั้น ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง และมันช่างยากขนาดไหนสำหรับบัวบาน
  • เหตุที่ท่านพุทธทาสภิกขุ ถึงมักจะใช้คำว่า อิทัปปัจจยตา คู่กับปฏิจจสมุปบาทบ่อยๆ
  • เหตุที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สงสารวัฏนี้ หาที่สุดของเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏฯ

https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=4730&Z=5111

ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ ร่วมถวายปัจจัยในโอกาสทอดกฐิน ที่วัดแหลมไผ่ 22 ตค. 2565

เรื่องมันเริ่มมาแบบนี้ฮะ บัวบาน แว้บกลับบ้านไปเมื่อช่วงเชงเม้ง ปี 2565 และได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนท่านหลวงพ่อปราโมทย์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดแหลมไผ่ (ซึ่งอดีตเคยเป็นเพื่อนบ้านของบัวบาน). วัดแหลมไผ่เป็นวัดที่เก่าพอสมควร อายุเกิน 100 ปีมาแล้ว เดิมชื่อวัดเวฬุวนาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน แขวงเมืองไชยา​ (ปัจจุบันคือจังหวัดสุราษฎร์ธานี). พอบัวบานได้เยี่ยมชมวัด ก็มีความรู้สึกอยากจะช่วยพัฒนาวัดให้สะอาด สะดวกสบาย ปลอดภัย น่าเข้าหา, บัวบานก็เลยขอร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินประจำปีนี้ซะเลย.

ศิลาจารึก จุดกำเนิดของวัดแหลมไผ่ ตั้งแต่สมัย พ.ศ.2452

มีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตรพระอุโบสถ
วัดเวฬวนาราม ตำบลมะลวน ท้องที่อำเภอพุนพิน แขวงเมืองไชยา โดยยาว ๑๓ กว้าง ๑๒ วา เจ้าอธิการด้วน กับทายกแลราษฎร ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอเปนที่วิสุงคามสีมา พระเจ้าแผ่นดินสยาม ได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรมการ ปักกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศที่นั้นให้เปนที่วิสุงคามสีมา ยกเปนแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขต เปนที่วิเสศสำหรับพระสงฆ์มาแต่จาตุทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรมมีอุโบสถกรรมเปนต้น

พระราชทานดงแดนวันที่ ๒๖ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ พระพุทธศาสนกาล ๒๔๕๒ พรรษา เปนวันที่ ๑๕๑๔๑​ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

ศิลาจารึก ณ ​อุโบสถวัดแหลมไผ่
ภายนอกโบสถ์
ภายในโบสถ์

ทางวัดแหลมไผ่เองก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตัววัดเองก็มีความทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ทั้งพื้นปูนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ สีภายนอกและภายในของสิ่งปลูกสร้าง พรมและเฟอนิเจอร์ที่เสื่อมสภาพ. ทางวัดต้องการทั้งแรงกายและปัจจัยทรัพย์สินมาช่วยซ่อมแซมและพัฒนา เพื่อให้วัดกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนสนใจ และอยากเข้ามาใกล้ชิดธรรม.

บัวบานเองก็เพิ่งจะตระหนักได้นี่เอง ว่าการพัฒนาวัด ก็เป็นสิ่งสำคัญมากในการเผยแผ่ศาสนาพุทธ. ใครๆ ก็อยากจะเข้ามาสถานที่ที่สะอาด สงบ มีฟังก์ชันครบครัน มีความพร้อมในด้านต่างๆ เสมอ. ดังนั้น บัวบานจึงตั้งใจจะอาสาหาเงินมาช่วยพัฒนาวัดแหลมไผ่ เพื่อจะได้ดึงดูดพุทธบริษัทเข้ามาเพื่อให้มีโอกาสได้ใกล้ชิดพุทธศาสนา เผื่อโชคดีขึ้นมา อาจจะได้เห็นธรรม.

โครงการทอดกฐิน 2565 และแผนการพัฒนาวัด

หลวงพ่อปราโมทย์ก็ได้ชี้แจงแผนการพัฒนาวัดไว้คร่าวๆ ดังนี้

  • ทำโรงเลี้ยงอาหาร ข้างๆ ศาลาหลัก (ใกล้ๆ เมรุ) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้คนที่ต้องการใช้สถานที่เพื่องานพิธีกรรมต่างๆ
  • ทำโรงครัว เพื่อรองรับงานพิธีกรรม
  • สมทบทุน พัฒนาระบบประปาภายในวัด
  • ติดตั้งเสาไฟและหลอดไฟในจุดสำคัญต่างๆ (ตอนนี้คือมืดมาก บางจุดคือมืดสนิทเลย)

บัวบานจึงขอใช้โอกาสนี้ ประกาศต่อญาติๆ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆคน ว่ามีการทอดกฐิน ปี 2565 ของวัดแหลมไผ่ และกระผมขอเป็นตัวแทน รวบรวมปัจจัยไปส่งมอบให้ทางวัดในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 นี้.

ขอร่วมอนุโมทนากับทุกท่าน ขอให้ผลบุญในการช่วยทำนุบำรุงศาสนานี้ นำพาสิ่งดีๆมาแก่ชีวิต และเป็นเสบียงในการเดินทางผ่านวัฏฏะ นำพาให้ท่านพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นทั้งปวงเทอญ.

ผู้ใดที่สนใจร่วมบริจาคเงิน สามารถโอนเงินมาได้ที่

ชื่อบัญชี: ปานนวัต จานทอง
ธนาคาร: ttb (ทีเอมบีธนชาต)
เลขที่บัญชี: 667-2-15521-2

ขอความกรุณาให้ท่านที่โอนเงินมา ส่งสลิปให้บัวบานด้วยนะฮะ. จะทาง facebook messenger หรือ LINE หรืออีเมลล์ก็ได้ฮะ.

ซองกฐิน
รายละเอียด
รายชื่อคณะกรรมการ

How To – Debounce function in Vue Class Component

I want to validate an input textbox. When users enter anything in the textbox, it will validate and show error message according to the result.

I need to use Debounce here to reduce validation rate.

validateText = _.debounce(() => {
    if (
        this.input.passwordConfirmation.length > 0 &&
        this.input.password !== this.input.passwordConfirmation
    ) {
        this.isPasswordSame = false;
    } else {
        this.isPasswordSame = true;
    }
    console.log('Same: ' + this.isPasswordSame);
    console.log('Valid: ' + this.isPasswordValid);
}, 500);

Then I bind this function to onChange.


Finally, I bind the validation result to a div for error message.

Password and confirmed password is not the same

… WTH …. it does not work.

The reason is that Vue does not work well with arrow function () =>.
So we need to make sure that scope of

this.isPasswordSame

is correct.

Let’s make a simple modification like this.
First declare a validator function as methods. Then pass that function to debounce.

validator() {
    if (
        this.input.passwordConfirmation.length > 0 &&
        this.input.password !== this.input.passwordConfirmation
    ) {
        this.isPasswordSame = false;
    } else {
        this.isPasswordSame = true;
    }

    if (this.input.password.length < 8) {
        this.isPasswordValid = false;
    } else {
        this.isPasswordValid = true;
    }
    console.log('Same: ' + this.isPasswordSame);
    console.log('Valid: ' + this.isPasswordValid);
}

validateText = _.debounce(this.validator, 500);

It works !!!

ไม่ต้องกลัวลืม Shortcut key อีกต่อไป, มาเพิ่ม Menu ให้ Sublime กันเถ๊อะ

บัวบานใช้ Sublime บ้างในบางโอกาส. และประสบปัญหาอย่างแรง เวลาจะเรียกใช้ plugin แต่จำ shortcut key ไม่ได้! ต้อง google ทุกครั้งไป. น่าเบื่อ!

วันนี้ขอจบปัญหานี้อย่างถาวร ด้วยการเพิ่มเมนูเข้าไปให้ Sublime เลย. จะขอยกตัวอย่าง Plugin  Pretty JSON ซึ่งมีหน้าที่จัดเว้นวรรค เว้นบรรทัด ให้ JSON อ่านง่ายขึ้นนะฮะ.

Install Plugin

  1. กด Preferences > Package Control

  2. เลือก Package Control: Install package
  3. พิมพ์ “Pretty JSON” แล้วกด Enter

หลังจากที่มันลงเสร็จแล้วเราจะเห็น package นั้นบนเครื่องเรา.
Windows: %userprofile%\AppData\Roaming\Sublime Text 3\Packages\Pretty JSON
Mac: /Users/your-user/Library/Application Support/Sublime Text 3/Packages/Pretty JSON

 

Add a Menu

ณ จุดนี้ เราจะเพิ่มเมนู “PrettyPrint” และภายใต้นั้นเราจะใส่ “Pretty JSON” เอาไว้.

  1. เปิดไฟล์ Main.sublime-menu
  2. เพิ่ม object เข้าไปดังบรรทัดที่ 38-48
    [
        {
            "mnemonic": "n",
            "caption": "Preferences",
            "id": "preferences",
            "children": [
                {
                    "mnemonic": "P",
                    "caption": "Package Settings",
                    "id": "package-settings",
                    "children": [
                        {
                            "caption": "Pretty JSON",
                            "children": [
                                {
                                    "caption": "Settings – Default",
                                    "args": {
                                        "file": "${packages}/Pretty JSON/Pretty JSON.sublime-settings"
                                    },
                                    "command": "open_file"
                                },
                                {
                                    "caption": "Settings – User",
                                    "args": {
                                        "file": "${packages}/User/Pretty JSON.sublime-settings"
                                    },
                                    "command": "open_file"
                                },
                                {
                                    "caption": "-"
                                }
                            ]
                        }
                    ]
                }
            ]
        },
        {
            "caption": "PrettyPrint",
            "mnemonic": "p",
            "id": "prettyJson",
            "children": [
                {
                    "command": "pretty_json",
                    "caption": "Pretty JSON"
                }
            ]
        }
    ]
    
  3. Save file และ Restart Sublime. จะเห็น Menu โผล่มา พร้อมกดใช้ได้เลยนะฮะ.